UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

UNHCR ชื่นชมประเทศโตโกที่ยกระดับการจัดการปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ

27 ก.ค. 2021

UNHCR เริ่มดำเนินโครงการ #IBelong ในปี ค.ศ. 2014 นับเป็นความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติให้ได้ภายใน 10 ปี © UNHCR

UNHCR ยินดีที่ประเทศโตโกได้ภาคยานุวัติ ร่วมเป็นรัฐภาคีของสองอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

โตโก เป็นประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1954 และอนุสัญญาว่าด้วยการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1961 เพื่อร่วมยกระดับและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติที่มีอยู่ทั่วโลก

ไร้รัฐไร้สัญชาติ คือสถานการณ์ที่บุคคลไม่ได้รับการรับรองว่ามีสถานะเป็นพลเมืองของรัฐใดเลย ปัญหานี้มีอยู่ทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนกว่าล้านคน ที่ถูกผลักไสให้เป็นคนชายขอบและตกอยู่ในภาวะที่เปราะบางเป็นอย่างยิ่ง

การที่ประเทศโตโกเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาในวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการจัดการกับต้นเหตุของภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ และเป็นการสนับสนุนโครงการ #IBelong Campaign to End Statelessness by 2024  เพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติของ UNHCR

การขับเคลื่อนในครั้งนี้แสดงถึงพลังของประชาคมนานาชาติในวาระครบรอบ 60 ปี ของอนุสัญญาว่าด้วยการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1961 อีกทั้งเป็นความพยายามของ UNHCR ที่จะผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้ในวงกว้าง

Filippo Grandi ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “ผมขอชื่นชมประเทศโตโกที่เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั้งสองฉบับนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงในการยกระดับชีวิตของประชากรไร้รัฐไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ทั่วประเทศ และสนับสนุนการขจัดปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติที่มีอยู่ทั่วโลก”

“การรับรองอนุสัญญาในครั้งนี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือในการแก้ปัญหาอันดีเยี่ยมในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก”

โดยก่อนหน้านี้โตโกและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกได้ให้การรับรองปฏิญญาอาบิดจาน ค.ศ. 2015 ของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกา (the 2015 Abidjan Declaration of Economic Community of West African States (ECOWAS)) เพื่อยุติปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก และแผนปฏิบัติการบันจูลเพื่อยุติปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 2017 (the 2017 Banjul Plan of Action to Eradicate Statelessness)

การเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาของประเทศโตโกนั้น สอดคล้องกับแผนที่จะปฏิรูปกฎหมายสัญชาติเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลในการป้องกันและลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ รวมไปถึงการรับประกันสิทธิว่าด้วยสัญชาติอันเท่าเทียมของสตรีในการได้มาซึ่งสัญชาติ การถือและการส่งต่อสัญชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติม

จากข้อมูลของประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกพบว่า ในปัจจุบันมีจำนวนประชากรที่ไร้รัฐไร้สัญชาติหรือประชากรที่ไม่ได้รับการรับรองสัญชาติอยู่ถึง 1.6 ล้านคนเป็นอย่างน้อย

ในขณะที่ทั่วโลกนั้น ตามสถิติที่ UNHCR ได้รับการรายงานจาก 94 ประเทศ พบว่าประชากรที่ไร้รัฐไร้สัญชาติมีจำนวนมากถึง 4.2 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศส่วนมากไม่ได้ทำการเก็บข้อมูลของประชากรไร้รัฐไร้สัญชาติไว้ จึงเป็นไปได้ว่าจำนวนที่แท้จริงนั้นคงจะมีอยู่อีกมาก

บ่อยครั้งที่ประชากรไร้รัฐไร้สัญชาติไม่สามารถเข้าถึงการมีเอกสารทางกฎหมายและการบริการที่จำเป็นอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา การรักษาพยาบาล การรับวัคซีนป้องกันโรค ซึ่งการที่ไม่มีสถานะทางกฎหมายนี้ล้วนส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

UNHCR ชื่นชมฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญา 1961 ว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

เมื่อไม่ไร้รัฐไร้สัญชาติอีกต่อไป เด็กหนุ่มผู้หลงใหลฟุตบอลได้เปล่งเสียงของเขาแล้ว

UNHCR เรียกร้องรัฐบาลประเทศต่างๆ เร่งทำงานเพื่อความคืบหน้าในการแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั่วโลก

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2022

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow