UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

UNHCR เรียกร้องรัฐบาลประเทศต่างๆ เร่งทำงานเพื่อความคืบหน้าในการแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั่วโลก

8 พ.ย. 2021

อดีตครอบครัวไร้รัฐไร้สัญชาติแสดงเอกสารแสดงตัวตนที่เพิ่งได้รับที่หน้าบ้านของพวกเขาในเมืองดูชานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน © UNHCR/Didor Saidulloyev

เนื่องในวันครบรอบ 7 ปีของแคมเปญ #IBelong โครงการรณรงค์เพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เรียกร้องให้ทั่วโลกเร่งมือทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกที่ยังคงไร้รัฐไร้สัญชาติ

“ความคืบหน้าในการหาทางออกให้กับภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติได้เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่รัฐบาลยังคงต้องเร่งดำเนินการให้มากขึ้นเพื่อปิดช่องว่างทางกฎหมายและนโยบายที่ทำให้ผู้คนหลายล้านคนยังคงไร้รัฐไร้สัญชาติหรือยังคงมีเด็กเกิดใหม่ต้องตกอยู่ในภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ” นายฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกล่าว

ภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติหรือการตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับในฐานะพลเมืองของรัฐใดๆ ส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ซึ่งบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติเหล่านี้มักไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ อาทิ การเข้าเรียน การทำงานอย่างถูกกฎหมาย การเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข การแต่งงาน หรือการจดทะเบียนเกิดให้บุตร

ตั้งแต่ UNHCR เริ่มแคมเปญ #IBelong เพื่อรณรงค์และเรียกร้องให้ยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั่วโลกใน พ.ศ. 2557 นั้น มีบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติมากกว่า 400,000 คน ใน 27 ประเทศที่ได้รับสัญชาติ ในขณะที่ปัจจุบันผู้คนจำนวนหลายหมื่นคนทั่วภูมิภาคเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกาต่างมีแนวโน้มที่จะได้สถานะพลเมืองซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายใหม่

ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา 29 ประเทศได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณการมีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่มุ่งมั่นในการเดินหน้าเพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

“เราได้รับแรงกระตุ้นจากการขับเคลื่อนทั่วโลกในการแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ด้วยความพยายามร่วมกันจากหลายประเทศ เราสามารถยุติภาวะนี้ได้ แต่หากไม่มีการเร่งดำเนินการ ผู้คนอีกหลายล้านที่ไม่มีสัญชาติจะไร้หลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนและไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่สุดได้” นายกรันดีเสริม

ภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมักจะเป็นผลมาจากช่องว่างหรือข้อบกพร่องในกฎหมายสัญชาติและวิธีการบังคับใช้ การแบ่งแยก ไม่ว่าด้วยเหตุผลทางชาติพันธุ์ ศาสนา และเพศสภาพ ต่างเป็นสาเหตุหลักของภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับในฐานะพลเมือง บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติจึงมักถูกริดรอนสิทธิทางกฎหมายหรือไม่ได้รับบริการขั้นพื้นฐาน ทำให้พวกเขาถูกกีดกันทางการเมืองและเศรษฐกิจและอยู่ในภาวะที่เปราะบางต่อการถูกแบ่งแยก กดขี่ และถูกแสวงหาผลประโยชน์ นอกจากนั้น พวกเขายังไม่สามารถเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 ได้รับการรักษาหรือได้รับวัคซีน และอาจได้รับความช่วยเหลือหรือความคุ้มครองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อต้องเผชิญความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ

รัฐบาลมีอำนาจในการออกกฎหมายและปฏิรูปนโยบายที่สามารถช่วยบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศ ให้พวกเขาได้รับสัญชาติหรือป้องกันการเกิดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติตั้งแต่เริ่มแรก โดยเพียงการลงนามหรือการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายเพียงเล็กน้อย ภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติเป็นเรื่องที่สามารถเลี่ยงได้อย่างง่ายดายและสามารถแก้ไขได้

แคมเปญ 10 ปี #IBelong ของ UNHCR เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ร่วมยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติให้ได้ภายใน พ.ศ. 2567

ข้อมูลเบื้องต้น

UNHCR รายงานสถิติบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติว่ามีจำนวน 4.2 ล้านคนใน 94 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้หลายประเทศไม่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ จึงทำให้เชื่อว่าจำนวนที่แท้จริงนั้นสูงกว่านี้อีกมาก

ปัจจุบัน 96 ประเทศได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1954 และ 77 ประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1961

ตั้งแต่เริ่มแคมเปญ #IBelong โครงการรณรงค์เพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ มี

  • 1 ประเทศ ที่สามารถยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติได้อย่างสิ้นเชิงตามจำนวนบุคคลที่ได้ลงทะเบียนไว้คือประเทศคีร์กีซสถาน และอีก 11 ประเทศ มีการดำเนินการที่สำคัญในการแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
  • 17 ประเทศ ดำเนินกระบวนการให้สถานะบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยที่บางประเทศมีแนวทางในการขอสัญชาติให้ด้วยเช่นกัน
  • 12 ประเทศ มีกระบวนการแปลงสัญชาติให้กับประชากรข้ามชาติที่ไร้รัฐไร้สัญชาติ
  • 14 ประเทศ ทำการปฏิรูปกฎหมายสัญชาติโดยให้สัญชาติแก่เด็กที่เกิดในอาณาเขตประเทศ เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องตกอยู่ในภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ
  • 2 ประเทศ ทำการปฏิรูปกฎหมายสัญชาติเพื่อให้มารดาสามารถส่งผ่านสัญชาติแก่บุตรได้อย่างเท่าเทียมกับบิดา

 

ร่วมยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

 

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

UNHCR ชื่นชมฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญา 1961 ว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

เมื่อไม่ไร้รัฐไร้สัญชาติอีกต่อไป เด็กหนุ่มผู้หลงใหลฟุตบอลได้เปล่งเสียงของเขาแล้ว

อนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ 1961: 60 ปี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการมีสัญชาติ

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2022

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow