UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

เมื่อไม่ไร้รัฐไร้สัญชาติอีกต่อไป เด็กหนุ่มผู้หลงใหลฟุตบอลได้เปล่งเสียงของเขาแล้ว

ใส น้ำจุม เกิดในครอบครัวไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย เขาเพิ่งได้รับสัญชาติและพร้อมสานความหวังของเขาต่อในอนาคต

8 พ.ย. 2021

ใส น้ำจุม กำลังทำงานในไร่สับปะรดของครอบครัว ©ADRA/Aunthip Puttawong

เรื่องโดย มอร์แกน รูสเซล-เอเมรี กรุงเทพฯ ประเทศไทย | 4 พฤศจิกายน 2564


 

ใส น้ำจุม ซ่อนรอยยิ้มกว้างของเขาไว้ภายใต้หน้ากากอนามัย

“ผมรอไม่ไหวแล้วที่จะได้บอกคนทั้งโลกว่าผมเป็นคนไทยแล้ว” เขาเล่าด้วยความสุขใจ ใสเพิ่งได้รับสัญชาติไทยตอนเขาอายุ 24 ปี

ใส ผู้รักการเตะฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจเล่นฟุตบอลให้กับทีมหมู่บ้าน “สันโค้ง” ในตำแหน่งกองกลาง  ตอนนี้เขาต้องช่วยงานในไร่สับปะรดของครอบครัวที่บ้านเกิดของเขาในจังหวัดเชียงรายทางภาคเหนือของประเทศไทยไปก่อน จนกว่าเขาจะสามารถตามความฝันในการเป็นนักฟุตบอลมืออาชีพได้

ใสทำงานเป็นอาสาสมัครชุมชนกับมูลนิธิแอ๊ดเวนตีสเพื่อการพัฒนาและบรรเทาทุกข์ (แอ๊ดดร้า ประเทศไทย) ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรของ UNHCR  อยู่ 2-3 เดือน ในช่วงนั้นเองเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการขอสัญชาติ

 

“เราจ่ายค่าที่ดินมาโดยตลอด แต่เราไม่อาจเป็นเจ้าของที่ดินได้ตามกฎหมาย”

 

ใสเกิดและโตในประเทศไทย ในครอบครัวที่ทั้งพ่อและแม่ไร้รัฐไร้สัญชาติ ตลอดเวลาที่ผ่านมาใสและครอบครัวต้องเผชิญกับอุปสรรคในหลายๆ ด้าน

“เรามีปัญหาในการเดินทางและย้ายไปตามที่ต่างๆ” ใสอธิบายให้ฟัง “ถ้าเราเดินทางข้ามจังหวัด เราต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐก่อนล่วงหน้า”

ครอบครัวของเขาไม่มีเอกสารแสดงตัวตน ทำให้การเข้าถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์มีข้อจำกัด “ที่ดินที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันไม่มีชื่อของพวกเราอยู่ในเอกสารใดๆ เลย แม้ว่าเราจะจ่ายเงินซื้อมันมาแล้วก็ตาม เราสามารถถูกขอให้ออกจากพื้นที่ได้ทุกเมื่อ”

สำหรับครอบครัวของใส ที่ดินคือปัจจัยหลักในการยังชีพและมีความเสี่ยงที่จะถูกไล่ที่โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก “เราจ่ายค่าที่ดินมาโดยตลอด แต่เราไม่อาจเป็นเจ้าของที่ดินได้ตามกฎหมาย” ใสย้ำอีกครั้ง

แต่ใสก็ยังมีความหวังอยู่ “ตอนนี้ผมได้สัญชาติไทยแล้ว ผมสามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อของผมได้แล้ว”

ใสได้รับสัญชาติเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 7 ทวิ วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติไทย เขาเริ่มยื่นขอสัญชาติใน พ.ศ. 2562 หลังจากเพื่อนบ้านได้แนะนำให้รู้จักกับองค์กรแอ๊ดดร้าเป็นครั้งแรก ในขณะที่เขาทำงานกับแอ๊ดดร้าที่ศูนย์บริการอำเภอแม่จัน เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิในการมีสัญชาติ การเข้าถึงการเป็นพลเมือง และสถานะทางกฎหมาย

ประเทศไทยเริ่มดำเนินการเชิงรุกเพื่อแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติใน พ.ศ. 2548 และมีการปฎิรูปกฎหมายสัญชาติและการทะเบียนราษฎรครั้งสำคัญใน พ.ศ. 2551 2559 และ 2562 เพื่อมอบ (คืน) สิทธิในสัญชาติแก่บุคคลที่ถูกเพิกถอนสัญชาติหรือผู้ที่ยังไม่สามารถยื่นขอสัญชาติได้

 

“ผมรู้สึกเสียใจที่โดนดูถูก ทั้งๆ ที่ผมเองก็เกิดในประเทศไทยและผมก็มีสิทธิที่จะเป็นคนไทย”

 

ใสเล่าย้อนไปถึงสมัยที่เขาโดนล้อที่โรงเรียน นักเรียนคนอื่นๆ มักเรียกเขาว่า “คนต่างด้าว”

“ผมรู้สึกเสียใจที่โดนดูถูก ทั้งๆ ที่ผมเองก็เกิดในประเทศไทยและผมก็มีสิทธิที่จะเป็นคนไทย” ใส กล่าว

เขายังเล่าอีกว่าประสบการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นนอกโรงเรียนด้วย ระหว่างที่มีการประชุมหมู่บ้าน บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติมักถูกกีดกันและไม่ยอมให้ออกความคิดเห็น ใสจำได้ว่า มีคนผู้ว่า “เธอเป็นคนไม่มีสัญชาติ เธอไม่ใช่คนไทย ไม่มีเหตุผลที่คุณจะพูด”

ตั้งแต่ได้สัญชาติไทย ใสรู้สึกมั่นใจและอยากช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวของเขาให้ได้สัญชาติด้วยเช่นกัน พี่ชายของเขาได้ยื่นขอสัญชาติแล้ว แต่ยังคงต้องรอการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ที่ล่าช้าออกไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ใสก้าวผ่านความท้าทายต่างๆ ของกระบวนการยื่นขอสัญชาติมาแล้วด้วยตัวของเขาเองเช่นเดียวกับบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติคนอื่นๆ เขาอธิบายถึงความยากในการรวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงขั้นตอนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและหลักฐานการสำรวจประชากรว่า “เอกสารไปค้างอยู่ตามที่ต่างๆ และใช้เวลาดำเนินการนานมาก เอกสารหลายอย่างก็ยากที่จะได้มา”

ประเทศไทยยังคงพยายามลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ และได้เริ่มสนับสนุนแคมเปญ #IBelong เพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติทั่วโลกใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลได้ให้คำมั่น ณ ที่ประชุมระดับสูงว่าด้วยการยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติของ UNHCR เมื่อ พ.ศ. 2562 ที่ซึ่งรัฐบาลต่างๆ และผู้มีส่วนร่วมหลักได้ร่วมกันหารือถึงวิธีการลดและยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

นอกจากนี้ UNHCR ชื่นชมรัฐบาลไทยที่มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดไว้เมื่อ พ.ศ. 2553

จากข้อมูลเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติที่ขึ้นทะเบียนกว่า 550,000 คน และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ให้สัญชาติแก่บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติแล้วมากกว่า 100,000 คน ซึ่งใสดีใจที่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

ปัจจุบันนี้ เมื่อใสได้ทราบว่าสิทธิในการเป็นพลเมืองสามารถเปลี่ยนชีวิตของคนหนึ่งคนได้มากเพียงใด เขาได้ช่วยพี่น้องและพ่อแม่ในการยื่นขอสัญชาติไทยด้วยเช่นกัน ใสสามารถฝันถึงการไปดูนักฟุตบอลในดวงใจ ลิโอเนล เมสซี่ ลงเตะที่ใดก็ได้บนโลกใบนี้ แม้ว่าเขายังคงทำใจที่เมสซี่ต้องจากทีมฟุตบอลบาเซโลนาเพื่อไปร่วมทีมปารีแซ็ง-แฌร์แม็งก็ตาม

 

สนับสนุนการทำงาน

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

อาสาสมัครชุมชนช่วยเหลือคนไร้รัฐไร้สัญชาติในหมู่บ้านของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการยื่นขอสัญชาติ

UNHCR ชื่นชมไลบีเรียที่ยกเลิกการเลือกปฏิบัติทางเพศในกฎหมายสัญชาติ

UNHCR ชื่นชมฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญา 1961 ว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow