UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

UNHCR: ความขัดแย้ง ความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้การพลัดถิ่นเพิ่มสูงในครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2564

16 พ.ย. 2021

People fleeing the eruption of Mount Nyiragongo volcano in the Democratic Republic of the Congo seek shelter in the town of Sake, May 2021. UNHCR immediately began providing assistance.  © UNHCR/Guerchom Ndebo

ผู้คนกำลังหนีจากการปะทุของภูเขาไฟเนียรากองโก ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเพื่อแสวงหาที่พักพิงที่ปลอดภัยในเมืองเซก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดย UNHCR เริ่มเข้ามอบความช่วยเหลือในทันที © UNHCR/Guerchom Ndebo

แนวโน้มการถูกบังคับให้พลัดถิ่นยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องใน พ.ศ. 2564 ด้วยจำนวนผู้พลัดถิ่นทั่วโลกที่ตอนนี้มีมากกว่า 84 ล้านคน เนื่องจากผู้คนยังต้องหลบหนีจากความรุนแรง ความไม่ปลอดภัย และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น ตามรายงานแนวโน้มกลางปีของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)

รายงานจากเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2564 แสดงให้เห็นจำนวนผู้พลัดถิ่นที่เพิ่มขึ้นจาก 82.4 ล้านคนเมื่อปลาย พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นผลมาจากการพลัดถิ่นภายในประเทศเป็นจำนวนมากที่ผู้คนต้องหลบหนีจากความขัดแย้งที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่หลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคแอฟริกา รายงานยังระบุอีกว่าการควบคุมชายแดนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้จำกัดการเข้าถึงการขอลี้ภัยในหลายพื้นที่

“ประชาคมโลกกำลังล้มเหลวในการป้องกันความรุนแรง การประหัตประหาร และการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ยังคงผลักดันให้ผู้คนต้องหนีออกจากบ้านของตน” นายฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าว “มากไปกว่านั้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้พื้นที่ที่มอบการพักพิงหลายแห่งแก่ผู้พลัดถิ่นนั้นเปราะบางยิ่งขึ้น”

ผู้คนเกือบ 51 ล้านคนกำลังพลัดถิ่นภายในประเทศของตนเอง ขณะที่ความขัดแย้งและความรุนแรงพุ่งสูงขึ้นทั่วโลกในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2564 การพลัดถิ่นภายในประเทศครั้งใหม่เกิดขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (1.3 ล้านคน) และในประเทศเอธิโอเปีย (1.2 ล้านคน) และความรุนแรงในประเทศเมียนมาและอัฟกานิสถานที่บังคับให้ผู้คนต้องหนีออกจากบ้านของตนระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2564

จำนวนผู้ลี้ภัยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2564 เกือบถึง 21 ล้านคน โดยผู้ลี้ภัยกลุ่มใหม่นี้ส่วนมากมาจาก 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (71,800 คน) ซูดานใต้ (61,700 คน) ซีเรีย (38,800 คน) อัฟกานิสถาน (25,200 คน) และไนจีเรีย (20,300 คน)

ส่วนผสมที่อันตรายระหว่าง ความขัดแย้ง การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความยากจน ความไม่มั่นคงทางอาหาร และความฉุกเฉินทางสภาพภูมิอากาศ รวมกันก่อให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมของผู้พลัดถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่พักพิงอยู่ในภูมิภาคที่กำลังพัฒนา

ทางออกสำหรับประชากรผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นยังคงมีจำกัด ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2564 มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศไม่ถึง 1 ล้านคน และผู้ลี้ภัยเพียง 126,700 คนที่สามารถเดินทางกลับบ้านได้โดยสมัครใจ

“ประชาคมโลกต้องเพิ่มความพยายามอีกเท่าตัวในการสร้างสันติภาพ และในเวลาเดียวกันต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับกลุ่มผู้พลัดถิ่นและชุมชนที่มอบที่พักพิง เพราะชุมชนและประเทศที่มีทรัพยากรน้อยที่สุดยังคงแบกรับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ในการปกป้องและดูแลผู้พลัดถิ่น และพวกเขาต้องได้รับการสนับสนุนที่มากขึ้นจากประชาคมโลกอื่นๆ” นายกรันดี เสริม

UNHCR เผยแพร่ข้อมูลประจำปีเกี่ยวกับการถูกบังคับให้พลัดถิ่นทั่วโลกในรายงานแนวโน้มโลก ทุกเดือนมิถุนายนของแต่ละปี นอกจากนั้น ท่านยังสามารถติดตามรายงานแนวโน้มกลางปีได้ที่ www.unhcr.org/mid-year-trends.

ติดตามสถิติการพลัดถิ่นทั่วโลกได้ที่ www.unhcr.org/refugee-statistics/

#UNHCRThailand #WithRefugees

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

UNHCR อยู่ในพื้นที่มอบความช่วยเหลือต่อเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในทูร์เคียและซีเรีย

ผู้พลัดถิ่นในประเทศโมซัมบิกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับตัวในวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ครอบครัวชาวเอธิโอเปียเผชิญกับความยากลำบากในการเอาชีวิตรอดท่ามกลางภัยแล้ง

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow