UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

UNHCR สนับสนุนความพยายามในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากเมียนมาที่เดินทางมาถึงประเทศไทยและเน้นย้ำถึงความต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการมอบความคุ้มครอง

22 ธ.ค. 2021

© UNHCR

วันนี้ (20 ธันวาคม) สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เน้นย้ำถึงความต้องการการคุ้มครองและความช่วยเหลือเร่งด่วนของผู้ลี้ภัยที่หนีภัยจากการต่อสู้รุนแรงในพื้นที่เลเก่ก่อและพื้นที่ใกล้เคียงของรัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและผู้ที่เดินทางข้ามแดนมายังประเทศไทย UNHCR ร่วมกับพันธมิตรย้ำถึงความพร้อมของรัฐบาลไทยในการมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นและการสนับสนุนการมอบความคุ้มครองแก่ผู้ที่เดินทางมาถึงใหม่

ข้อมูลจากรัฐบาลไทยระบุว่าผู้มีสัญชาติเมียนมาราว 3,900 คน หนีข้ามชายแดนเข้ามานับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ซึ่งปัจจุบันพวกเขาพักพิงอยู่ในหลายพื้นที่ในอำเภอแม่สอด โดยมีรายงานว่าผู้ที่หนีจากเมียนมาบางส่วนได้เดินทางกลับไปแล้วในช่วงหลายวันที่ผ่านมา

การต่อสู้และการยิงปะทะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วเมียนมา รวมถึงในหลายพื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยที่เดินทางมาถึงใหม่หนีออกมา UNHCR กังวลต่อสวัสดิภาพของพลเรือนเหล่านี้และได้เสนอความช่วยเหลือซึ่งรวมถึงการจัดหาสิ่งของบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินไปยังทางการไทยแล้ว นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานในการการตอบสนองด้านมนุษยธรรมอย่างต่อเนื่อง UNHCR และองค์กรพัฒนาเอกชนได้ขอให้ได้รับการเข้าถึงผู้ลี้ภัยเพื่อประเมินความต้องการและส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและมอบความคุ้มครองแก่พวกเขาอย่างเร่งด่วน

ประเทศไทยมีประสบการณ์มอบความคุ้มครองระหว่างประเทศและให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยที่เข้ามาแสวงหาความปลอดภัยรวมถึงผู้ที่มาจากเมียนมา ยาวนานหลายทศวรรษ UNHCR เน้นย้ำว่าเรายังคงมีความยินดีต่อคำมั่นของนายกรัฐมนตรีไทยที่ให้ไว้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือต่อสถานการณ์การลี้ภัยที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงคำมั่นที่จะไม่ผลักดันพวกเขากลับ

UNHCR ยังคงสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศที่บุคคลที่แสวงหาความคุ้มครองระหว่างประเทศและหนีจากความขัดแย้ง ความรุนแรง หรือการประหัตประหารได้รับอนุญาตให้ข้ามแดนเพื่อแสวงหาความปลอดภัยและจะต้องไม่ถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่ที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะตกอยู่ในอันตราย

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

อาสาสมัครชุมชนช่วยเหลือคนไร้รัฐไร้สัญชาติในหมู่บ้านของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการยื่นขอสัญชาติ

UNHCR ส่งเสริมให้มีการใช้มาตรการพัฒนาความเป็นอยู่และความปลอดภัยของผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาที่เข้ามาใหม่ในประเทศไทย

UNHCR เรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมามอบความคุ้มครองต่อผู้คนที่หนีจากความรุนแรง

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow