UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ชื่นชม มติคณะรัฐมนตรีซึ่งเห็นชอบในการจัดตั้งระบบคัดกรอง

สืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มกราคม 2560 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งและปรับใช้ระบบดังกล่าว

16 ธ.ค. 2019

UNHCR

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ขอแสดงความชื่นชมต่อการที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2562 อนุมัติการจัดตั้งระบบเพื่อคัดกรองบุคคลที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ มตินี้สืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มกราคม 2560 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งและปรับใช้ระบบดังกล่าว

ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 และไม่มีกฎมายว่าด้วยผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยผู้ซึ่งมิได้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะพำนักในประเทศไทย จึงมีสถานะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

ในการนี้ เป็นที่คาดหวังว่าหลังจากมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ระบบคัดกรองนี้จะทำให้บุคคลที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศสามารถพำนักในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว และทำให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเสถียรมากขึ้น

“มติคณะรัฐมนตรีในวันนี้แสดงให้เห็นถึงคำมั่นของรัฐบาลไทย ในการดำเนินการให้ความคุ้มครองต่อผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในอาณาเขตของไทย” นายจูเซ็ปเป้ เด วินเซ็นทิส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าว

“สิ่งสำคัญของระบบคัดกรองคือการนำมาปรับใช้ตามหลักมาตรฐานระหว่างประเทศและหลักการการขอลี้ภัย โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ พร้อมสนับสนุนรัฐบาลไทยในเรื่องนี้อย่างเต็มที่”

มติคณะรัฐมนตรีนี้มีขึ้นหลังจากรัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นในการเสริมสร้างความสามารถและทักษะให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในการนำระบบคัดกรองมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ให้ไว้ระหว่างการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย (Global Refugee Forum: GRF) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นครั้งแรก ณ นครเจนีวา เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย(GRF) จัดขึ้นหนึ่งปีหลังจากการรับรองข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugees: GCR) ซึ่งนับเป็นกรอบการทำงานระหว่างนานาประเทศเพื่อเพิ่มความเสถียรและแบ่งปันความรับผิดชอบในการหาทางแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย ซึ่งจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือระหว่างประเทศ

การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในระเบียบสำนักนายกฯ นี้นับเป็นผลมาจากคำมั่นของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ จันทร์โอชา ที่ได้ให้ไว้ เมื่อเดือนกันยายน 2559 ในเรื่องการจัดตั้งระบบคัดกรองดังกล่าว ณ เวทีการประชุมสุดยอดผู้นำเรื่องผู้ลี้ภัยโลก ที่จัดขึ้นที่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
จบ

กรุณาติดต่อ สำนักงานกรุงเทพฯ:

Jennifer Harrison [email protected] +66 82 290 8831

Duangmon Sujatanond [email protected]  +66 81 855 8522

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

UNHCR สนับสนุนความพยายามในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากเมียนมาที่เดินทางมาถึงประเทศไทยและเน้นย้ำถึงความต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการมอบความคุ้มครอง

UNHCR welcomes Royal Thai Government’s commitment to release of detained children in Thailand

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow