Select a language for this section:
Select a language for our global site:
Share
องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้สถานการณ์ แพร่ระบาดของCOVID-19 ในขณะนี้เป็น "การระบาดใหญ่ระดับโลก" UNHCR เร่งป้องกันและรับมือ มอบความช่วยเหลือปกป้องผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นและชุมชนที่ให้ที่พักพิงทั่วโลกในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดนี้
ไวรัสโคโรนา วิกฤตใหญ่ต่อการศึกษาของผู้ลี้ภัย เมื่อครึ่งหนึ่งของเด็กผู้ลี้ภัยทั่วโลกไม่มีโอกาสเข้าเรียน
เป็นเวลา 3 ปีนับจากการอพยพลี้ภัยครั้งล่าสุดของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่หนีภัยจากการสู้รบในประเทศเมียนมาเพื่อแสวงหาที่พักพิงที่ปลอดภัยในประเทศบังคลาเทศ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560
เด็ก ผู้หญิง และครอบครัวผู้ลี้ภัยกว่า 79.5 ล้านคน ทั่วโลกถูกบังคับให้ลี้ภัยจากประเทศบ้านเกิด พวกเขาสูญเสียบ้าน ครอบครัว และกำลังสิ้นหวัง โปรดบริจาคเพื่อมอบความคุ้มครอง ที่พักพิง การรักษาพยาบาล และความปลอดภัย
การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อทุกคนบนโลกใบนี้ รวมถึงผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นที่ถูกบังคับให้หนีออกจากบ้านจากสงคราม ความรุนแรงและภัยพิบัต ที่กำลังเผชิญกับความยากลำบากและตกอยู่ในความเสี่ยงสูงสุด
UNHCR ทำงานในพื้นที่เร่งส่งมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ น้ำสะอาด การรักษาพยาบาลและสุขอนามัยเพื่อปกป้องผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นจากวิกฤตการณ์หลายประเทศทั่วโลกร่วมกับรัฐบาลในการป้องกันและรับมือวิกฤตการณ์แพร่ระบาดครั้งนี้
บริจาคตอนนี้
ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19
รายงานการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
ถูกบังคับให้พลัดถิ่นทั่วโลก
(Image: © Ritzau Scanpix)
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยราว 97,000 คน ผู้ลี้ภัย (จำนวน 91,803 คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ 2563) หนีจากความขัดแย้งภายในประเทศเมียนมา ส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยาห์) อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย หรือพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งใน 4 จังหวัดตามแนวชายแดนในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองประมาณ 5,000 คนจาก 40 ประเทศทั่วโลก
จำนวนผู้ลี้ภัยในประเทศไทย:
จำนวนค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย:
อัพเดทข้อมูลครั้งล่าสุด 31 ธันวาคม 2563