UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

วิกฤตช่องว่างทางการศึกษาของผู้ลี้ภัย: 2 ใน 3 ของเยาวชนผู้ลี้ภัยอาจไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระดับมัธยม

20 ก.ย. 2021

Students attend a science lesson at St. Michaels secondary school in Tongogara Refugee Camp in Chipinge, Zimbabwe, on 26 April 2021.   © UNHCR/Zinyange Auntony

นักเรียนเข้าเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนมัธยมเซนต์มิเชลส์ ในค่ายผู้ลี้ภัยทองโกการา เมืองชิพพินจ์ สาธารณรัฐซิมบับเว วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564 © UNHCR/Zinyange Auntony

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เรียกร้องความพยายามจากนานาชาติในการรับรองการศึกษาระดับมัธยมแก่เด็กและเยาวชนผู้ลี้ภัย เมื่อระดับการเข้าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยยังอยู่ในขั้นวิกฤต

คำเรียกร้องนี้แถลงพร้อมการเผยแพร่รายงานประจำปีเกี่ยวกับการศึกษา พ.ศ. 2564 “เดินหน้าฝ่าฟัน: ความท้าทายต่อการศึกษาของผู้ลี้ภัย” รายงานเน้นถึงเรื่องราวของเยาวชนผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่พยายามเรียนให้ต่อเนื่องในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด -19

ช่วงเวลาในโรงเรียนมัธยมควรเป็นเวลาแห่งการเติบโต การพัฒนา และเป็นโอกาสในการส่งเสริมการหางาน สุขภาพร่างกาย ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และความเป็นผู้นำของเยาวชนที่เปราะบาง เพื่อไม่ให้พวกเขาถูกผลักดันเข้าสู่การใช้แรงงานเด็ก

แต่จากข้อมูลของ UNHCR ที่รวบรวมมาจาก 40 ประเทศทั่วโลก อัตรารวมการลงทะเบียนเรียนของผู้ลี้ภัยในระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2562 – 2563 อยู่ที่ร้อยละ 34 เท่านั้น ซึ่งในเกือบทุกประเทศ อัตรารวมการลงทะเบียนเรียนของเด็กผู้ลี้ภัยต่ำกว่าอัตราของเด็กในชุมชนที่มอบที่พักพิง

การแพร่ระบาดครั้งใหญ่นี้ปิดกั้นโอกาสของผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นไปอีก โรคโควิด-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อเด็กทุกคน แต่สำหรับเด็กผู้ลี้ภัยที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าโรงเรียนอยู่แล้ว การแพร่ระบาดครั้งนี้สามารถทำลายความหวังในการได้รับการศึกษาที่พวกเขาต้องการ

“ความคืบหน้าล่าสุดในการลงทะเบียนในโรงเรียนของเด็กและเยาวชนผู้ลี้ภัยขณะนี้กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง” นายฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกล่าว

“การเผชิญหน้ากับความท้าทายนี้ต้องการความพยายามในการร่วมมืออย่างมหาศาลและเป็นหน้าที่ที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้”

UNHCR เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ รับรองสิทธิของเด็กทุกคนรวมถึงผู้ลี้ภัยในการเข้าถึงการศึกษาในระดับมัธยมและเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของระบบและแผนการศึกษาของชาติ

มากไปกว่านั้น ประเทศที่มอบที่พักพิงแก่ผู้พลัดถิ่นจำนวนมากต้องการความช่วยเหลือในการสร้างศักยภาพเพื่อเพิ่มจำนวนโรงเรียน อุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม อาจารย์ที่ได้รับการฝึกอบรมวิชาเฉพาะทาง การสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเยาวชนหญิง และการลงทุนด้านเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อเพื่อปิดช่องว่างในการเข้าถึงด้านดิจิทัล

ข้อมูลยังแสดงให้เห็นอีกว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2563 อัตรารวมการเข้ารับการศึกษาในระดับประถมของผู้ลี้ภัยอยู่ที่ร้อยละ 68

การเข้ารับการศึกษาขั้นสูงอยู่ที่ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้น 2 จุดจากในแต่ละปีที่ผ่านมา และแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัยหลายพันคนและชุมชนที่มอบที่พักพิงของพวกเขา ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้ยังมอบความหวังและแรงผลักดันให้เยาวชนผู้ลี้ภัยที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เพื่อการเข้าถึงการศึกษา

แต่อัตราระดับนี้ยังคงต่ำเมื่อเทียบกับสถิติจากทั่วโลกและหากไม่มีการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับมัธยมอย่างเป็นนัยสำคัญ เป้าหมายของการยกระดับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้ได้ถึงร้อยละ 15 ภายใน พ.ศ. 2573 ที่ UNHCR และพันธมิตรได้ตั้งเป้าไว้จะยังคงห่างไกลจากความเป็นจริงอีกมาก

อ่านรายงานประจำปีเกี่ยวกับการศึกษา

ติดตามการทำงานของ UNHCR เพื่อมอบการศึกษาแก่ผู้ลี้ภัยได้ที่เว็บไซต์ www.unhcr.org/th/education

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

การหาทางออกให้กับการออกจากโรงเรียนกลางคัน เพื่ออนาคตที่มั่นคงและดีขึ้นของเด็กผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

UNHCR เปิดตัวแคมเปญระดับโลก Aiming Higher ครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาระดับสูงแก่ผู้ลี้ภัย

รายงานด้านการศึกษาประจำปีของ UNHCR: ไวรัสโคโรนา วิกฤตใหญ่ต่อการศึกษาของผู้ลี้ภัย เมื่อครึ่งหนึ่งของเด็กผู้ลี้ภัยทั่วโลกไม่มีโอกาสเข้าเรียน

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow