ความช่วยเหลือนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับผู้ลี้ภัยได้อย่างไร

ความช่วยเหลือนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับผู้ลี้ภัยได้อย่างไร
เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศจอร์แดนเข้าสู่การล็อกดาวน์ตามมาตรการโควิด-19 ครั้งแรก ทาฮานิ ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย งานรับจ้างทำความสะอาดทั้งหมดของเธอหายไปในช่วงเวลาเกือบชั่วข้ามคืน และเงินเก็บที่เธอมีจากการทำงานมานานเพื่อสร้างอนาคตเริ่มลดน้อยลง
“ฉันไม่มีงาน” เธอบอก ที่พักพิงของเธออยู่ในเมืองอิรบิด ทางตอนเหนือของประเทศจอร์แดน “ผู้คนต่างหวาดกลัวที่จะให้ฉันเข้าไปทำความสะอาดในบ้าน ฉันไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร”
ไม่ต่างจากผู้ลี้ภัยคนอื่น ๆ ทาฮานิ ไม่มีเงินเก็บหรือความมั่นคงทางการเงินเพียงพอเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เธอและครอบครัวเริ่มมีภาระหนี้สิน และไม่ใช่เธอเพียงคนเดียวที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์นี้
นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ ชาวซีเรียเกือบ 1 ล้านคน ในประเทศจอร์แดน เลบานอน และในเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานของอิรัก ต้องมีชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน จากรายงานของธนาคารโลก และUNHCR ที่ได้รับการตีพิมพ์ปลายปีที่ผ่านมาระบุว่า ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ทำให้ชีวิตของพวกเขายากลำบากมากยิ่งขึ้น
“วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิตและอนาคตของพวกเขา” อัยมัน กาเรเบะฮ์ ผู้อำนวยการ UNHCR สำนักงานภูมิภาคตะวันออกกลางและอเมริกาเหนือกล่าว

“ผู้คนต้องลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหาร และแบกรับภาระหนี้สินที่ไม่ยั่งยืน ขณะที่เรายังได้ยินเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กที่เพิ่มสูงขึ้น เราต้องช่วยเหลือผู้ที่เปราะบางมากที่สุดเพื่อบรรเทาผลเสียที่อาจตามมา”
ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โครงการการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินที่เป็นที่ยอมรับของ UNHCR ได้พิสูจน์การช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โดยการส่งมอบโดยตรงผ่านตู้ ATM ที่ได้รับการดัดแปลงพิเศษ ความช่วยเหลือด้านการเงินทำให้ผู้ลี้ภัยบริหารจัดการงบประมาณของครอบครัวและจับจ่ายในสิ่งที่จำเป็นสำหรับครอบครัว มากกว่าการพึ่งพาความช่วยเหลือในรูปแบบเดิม
“เราได้เห็นจากทั้งในค่ายและในพื้นที่เขตเมืองหลายแห่งแล้วว่า ความช่วยเหลือที่มอบให้อาจไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการเสมอไป” แคโรลีน เอนนิส รองผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศจอร์แดน “หลายครั้งที่ผู้ลี้ภัยนำสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ไม่ต้องการออกมาขาย เพื่อนำเงินไปซื้อสิ่งที่พวกเขาต้องการจริง ๆ”

ด้วยระบบการลงทะเบียน และความช่วยเหลือด้านการเงินที่พร้อมใช้งาน ทำให้ UNHCR สามารถยกระดับการทำงานเพื่อตอบสนองในวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม งบประมาณจำนวน 33.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,072 ล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือในสถานการฉุกเฉินถูกส่งมอบให้กับผู้ลี้ภัย 51,000 ครอบครัว
ทาฮานิ และครอบครัวเป็นหนึ่งในผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกในประเทศจอร์แดนที่ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินฉุกเฉิน “ความช่วยเหลือด้านการเงินไม่ต่อการทำตามความฝันทุกเรื่อง แต่เพียงพอ (ต่อการดำรงชีวิต)” เธอเล่า “มันช่วยให้ฉันสามารถชำระภาระหนี้สินบางส่วน ทำให้ฉันรู้สึกสงบใจ และดำเนินชีวิตต่อไปได้”
นับตั้งแต่ที่เธอเดินทางมาถึงประเทศจอร์แดนเมื่อ 9 ปี ก่อน จากเมืองดารา ทางตอนใต้ของประเทศซีเรีย ทาฮานิ ทำงานหนักเพื่อครอบครัวเสมอมา เธอทำงานทุกอย่างตั้งแต่งานทำความสะอาด ไปจนถึงการเป็นช่างผม และช่างเสริมสวย “มันเป็นงานที่ไม่มั่นคงเท่าไหร่นัก แต่งานก็คืองาน เราพยายามเอาชีวิตรอดเท่าที่เราสามารถทำได้” เธอกล่าว
ในประเทศจอร์แดน เป็นเรื่องยากที่ผู้หญิงผู้ลี้ภัยในการหางานที่ถูกกฎหมาย ในจำนวนใบอนุญาตทำงาน 150,000 ฉบับ ที่ออกให้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในประเทศจอร์แดน มีเพียงร้อยละ 4 ที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้หญิง
ในช่วงการล็อคดาวน์ ทาฮานิเข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอาชีพ ที่จัดขึ้นโดย UNHCR ร่วมกับ Jordan River Foundationพันธมิตรท้องถิ่นเป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยหลักสูตรนี้จะนำไปสู่การจ้างงานในร้านอาหารท้องถิ่นที่ทำ mansaf ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติสำหรับการเฉลิมฉลองของจอร์แดน ที่ปรุงจากเนื้อแกะ ข้าวและโยเกิร์ต
ชั่วโมงการเรียนของทาฮานิ แตกต่างกันไป เนื่องจากความไม่แน่นอน และข้อจำกัดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง “งานแต่งงานหลายงานถูกยกเลิก ทำให้ไม่มีใครสั่ง mansaf มากเท่าที่ควร และการล็อคดาวน์ทำให้เงินเดือนของฉันลดลงเพราะไม่สามารถมาทำงานได้” เธอเล่า
แต่ต้องขอบคุณความช่วยเหลือด้านการเงินที่เธอได้รับ ทาฮานิ และครอบครัวสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่าย สามารถจ่ายค่าเช่าอพาร์ทเม้นท์ที่คับแคบของพวกเขาต่อไป และเธอยังคงมีความหวังต่ออนาคตสดใสที่รออยู่ข้างหน้า
บริจาคตอนนี้เพื่อช่วยผู้ลี้ภัยเช่นทาฮานิ