การป้องกันความรุนแรงทางเพศ

UNHCR ให้ยังคงมุ่งมั่นในการยุติการคุกคามทางเพศทุกรูปแบบ โดยทำงานเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์และตอบสนองเพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิตทุกคนจากเหตุความรุนแรง

ความรุนแรงทางเพศเป็นหนึ่งในการละเมิดสิทธิทางมนุษยชน เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และส่งผลเสียต่อการพัฒนามนุษย์

ความรุนแรงทางเพศหยั่งรากลึกในทัศนคติของผู้ที่เพิกเฉยต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ชุมชนและประเทศ ความรุนแรงทางเพศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการพลัดถิ่นและส่งผลร้ายต่อโครงสร้างทางครอบครัวและสังคมที่มีการพลัดถิ่น

UNHCR มีหน้าที่ในการมอบความคุ้มครองระหว่างประเทศแก่ผู้ลี้ภัย เราทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลี้ภัยได้รับการปกป้องจากการคุกคามทางเพศ

UNHCR ให้ยังคงมุ่งมั่นในการยุติการคุกคามทางเพศทุกรูปแบบ โดยทำงานเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์และตอบสนองเพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิตทุกคนจากเหตุความรุนแรงซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้หญิง เด็กผู้หญิง รวมถึงผู้ชายและเด็กผู้ชายโดยทำงานร่วมกับชุมชนผู้ลี้ภัยและองค์กรพันธมิตร

การทำงานของ UNHCR ในประเทศไทย

ในค่ายที่พักพิงทั้ง 9 แห่ง ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา UNHCR ทำงานเพื่อมอบความคุ้มครองและปกป้องบุคคลในความห่วงใยหลายกลุ่มรวมถึงผู้ชายและเด็กผู้ชายในโครงการการป้องกันความรุนแรงทางเพศ โดยมุ่งหวังการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ในปี พ.ศ. 2562 มากกว่า 17,000 คน ได้รับความช่วยเหลือผ่านโครงการนี้ นอกจากนี้ UNHCR ยังทำงานเพื่อเฝ้าระวังและอำนวยความสะดวกในการรายงานการถูกล่วงละเมิดในช่องทางต่างๆ สำหรับผู้รอดชีวิตและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านความคุ้มครองเร่งด่วน

UNHCR ยังให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายกับผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศ เพื่อให้พวกเขาได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและเรายังมีส่วนร่วมในกระบวนการป้องกันและการมอบความช่วยเหลือด้านการป้องกันความรุนแรงทางเพศของชุมชนผู้ลี้ภัย

สำหรับผู้ลี้ภัยในเขตเมืองและผู้ขอลี้ภัย UNHCR สนับสนุนการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลและจิตวิทยาให้กับผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศผ่านองค์กรพันธมิตร นอกจากนี้เรายังเปิดสายด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือในเหตุความรุนแรงทางเพศ 7 วันต่อสัปดาห์