UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

ความท้าทายด้านสุขภาพของผู้ลี้ภัยยังคงอยู่ในระดับสูงท่ามกลางวิกฤตโรคโควิด-19

7 ก.ค. 2021

พอล อพอนเต อายุ 77 ปี จากประเทศเวเนซุเอลา ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มแรกในประเทศเอกวาดอร์ © UNHCR/Santiago Arcos Veintimilla

จากข้อมูลของ UNHCR ในรายงานประจำปีด้านสาธารณสุขโลก โรคมาลาเรีย เป็นสาเหตุหลักของการล้มป่วยของผู้ลี้ภัยใน พ.ศ. 2563 ขณะที่ผลกระทบทางด้านจิตใจจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และภาวะขาดสารอาหารเฉียบพลันเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่หลวงต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของผู้ลี้ภัย

ในระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ UNHCR ให้ความมุ่งเน้นหลักกับการขอรวมผู้ลี้ภัยในแผนการรับมือต่อโรคโควิด-19 ในระดับชาติ และทำงานเพื่อสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องผลิตออกซิเจน ชุดทดสอบการติดเชื้อและยารักษาโรค และการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยหนักในประเทศต่าง ๆ เช่น เลบานอนและบังคลาเทศ

ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดนี้ ท่ามกลางข้อจำกัดในการเดินทางและความหวาดกลัวการติดเชื้อ การเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุขของผู้ลี้ภัยลดลงอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม มีการปรับข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลี้ภัยยังสามารถเข้าถึงการบริการที่สำคัญได้อย่างปลอดภัย เมื่อการจำกัดพื้นที่และมาตารการต่าง ๆ ผ่อนคลายลง การใช้บริการด้านสาธารณสุขได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

“เราทำงานเพื่อลดความแออัดในสถานพยาบาล หาทางเลือกอื่น ๆ ในการให้บริการ เช่น การติดตามอาการจากทางไกล และเหนือสิ่งอื่นใดคือการให้ชุมชนผู้ลี้ภัยได้รับข่าวสารและข้อมูลล่าสุดอยู่เสมอ” นายซาจาด มาลิก ผู้อำนวยการด้านการการฟื้นฟูและหาทางออกเพื่อผู้ลี้ภัยของ UNHCR กล่าว “ความพยายามที่มากพิเศษมีความจำเป็นเพื่อรักษาความต่อเนื่องในการให้บริการด้านสุขภาพแก่มารดาและทารกแรกเกิด ตลอดจนบริการด้านสุขภาพจิตเนื่องจากความสามารถในการจัดการสภาวะจิตใจของผู้ลี้ภัยในช่วงโควิด-19 มีความตึงเครียดขึ้นเป็นอย่างมาก”

โดยรวมแล้วในปีที่ผ่านมา UNHCR สนับสนุนการเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแบบรอบด้าน และส่งการดูแลต่อในระดับหน่วยบริการทุติยภูมิและตติยภูมิใน 50 ประเทศที่มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย 16.5 ล้านคน

ใน พ.ศ. 2563 มีการรายงานการให้กำเนิดทารกที่ออกมามีชีวิตจำนวน 112,119 คน จากค่ายผู้ลี้ภัย 159 แห่งใน 19 ประเทศ ซึ่งจำนวนใกล้เคียงกับ พ.ศ. 2562 การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดเป็นอัตราส่วนหลักของอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ  และการเสียชีวิตของมารดายังคงเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงในหลายประเทศที่ UNHCR ทำงานอยู่ ผู้หญิงจำนวนมากในพื้นที่ลี้ภัยยังคงเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ซึ่งสามารถป้องกันและรักษาได้ UNHCR ทำงานเพื่อสนับสนุนสถานพยาบาลให้มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม  มียาและเวชภัณฑ์ที่มากขึ้น เพื่อให้สามารถจัดการสถานการณ์ด้านสูตินารีเวชฉุกเฉินและช่วยชีวิตมารดาและทารกแรกเกิดได้

ใน พ.ศ. 2563 มีรายงานว่าโรคมาลาเรียเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยของผู้ลี้ภัย (ร้อยละ 20) ตามด้วยการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง เพื่อสู้กับโรคมาลาเรีย UNHCR และองค์กรพันธมิตรทำงานให้เข้าถึงตั้งแต่การวินิจฉัยโรคและการรักษาในระยะแรกเริ่ม และช่วยชุมชนหาทางลดความเสี่ยงต่อการถูกยุงกัด รวมถึงการมอบมุ้ง​เคลือบสารป้องกันยุง นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอีกด้วย

ภาวะขาดสารอาหารเฉียบพลันยังคงเป็นปัญหาหลักด้านสุขภาพในหลายพื้นที่การทำงานของ UNHCR ในช่วงต้นของการแพร่ระบาดส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการเคลื่อนย้าย UNHCR ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จึงได้ทบทวนโครงการด้านโภชนาการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการดูแลและมีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไป

ยกตัวอย่างเช่น การบำบัดรักษาและการให้อาหารเสริมช่วยลดช่องว่างทางโภชนาการในเด็ก ผู้หญิง และกลุ่มคนอื่น ๆ ที่มีความต้องการทางโภชนาการเฉพาะ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ/หรือวัณโรค เพื่อการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง UNHCR จัดเตรียมเสบียงล่วงหน้าในสัดส่วนที่เพียงพอต่อช่วงเวลาที่นานขึ้นและลดความถี่ในการเดินทางไปสถานพยาบาล นอกจากนี้ยังเพิ่มจำนวนวันแจกจ่ายเสบียงเพื่อลดความแออัด และในบางพื้นที่ เช่น ทางตอนใต้ของประเทศชาดและตะวันตกของประเทศรวันดา UNHCR ยังให้คำปรึกษาผ่านวิทยุและโทรศัพท์เพื่อแนะนำการป้อนอาหารเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก

“ในปีที่สองของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราต้องการงบประมาณจำนวนมากให้การตอบสนองต่อการแพร่ระบาดยังดำเนินต่อไปได้เพื่อสนับสนุนระบบต่างๆ ของประเทศ” นายมาลิก กล่าว “แต่อย่างไรก็ตามต้องไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่จำเป็นอื่นๆ โดยรวม การลงทุนอีกหลากหลายทางยังเป็นที่ต้องการเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลี้ภัยสามารถใช้สิทธิ์ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างที่สมควรที่สุดเหมือนกับทุกๆ คน”

บริจาคตอนนี้

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

กลุ่มผู้หนีภัยจากการสู้รบที่เปราะบางในประเทศไทยเริ่มได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

UNHCR เตือน คนไร้รัฐไร้สัญชาติทั่วโลกมีความเสี่ยงไม่ได้รับวัคซีน

UNHCR ชื่นชมการขยายสิทธิด้านสาธารณสุขแก่นักเรียนไร้รัฐไร้สัญชาติ

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow