UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

UNHCR ชื่นชมฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญา 1961 ว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

28 มี.ค. 2022

หากไม่มีมีเอกสารจดทะเบียนการเกิด เด็กกำพร้าเช่นรามิล เฟริโน (กลาง) อายุ 37 ปี จะไม่สามารถแต่งงานกับจอย วัย 30 ปี คู่ชีวิตที่อยู่ด้วยกันมานานและมีลูกชายชื่อแรมเฟล วัย 10 ปี ด้วยกัน © UNHCR/Roger Arnold

25 มีนาคม 2565

นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของประวัติศาสตร์ในการขจัดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1961 ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 78

UNHCR ชื่นชมในเจตนารมณ์อันแรงกล้าของรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่จะทำให้ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติและสถานะทางกฎหมาย

ฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติกล่าวว่า “ผมขอแสดงความยินดีกับประเทศฟิลิปปินส์ในก้าวสำคัญที่ร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1961 ซึ่งเป็นการแสดงถึงความตั้งใจในการที่จะปิดช่องว่างที่ทำให้ผู้คน โดยเฉพาะเด็ก ๆ มีความเสี่ยงที่จะไร้รัฐไร้สัญชาติ การทำให้ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างโลกที่มีสันติและความมั่นคง”

ปัญหาและวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ทำให้เห็นว่าสิทธิในสัญชาตินั้นมีความสำคัญเพียงใด และการได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายสามารถช่วยชีวิตได้ บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติหรือคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะไร้รัฐไร้สัญชาติอาจถูกกีดกันการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและบริการที่จำเป็น รวมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษาและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคม

รายงานของ  UNHCR ระบุว่าจำนวนบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติมีอยู่ราว 4.2 ล้านคนใน 94 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งฟิลิปปินส์ แต่เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ไม่มีการเก็บข้อมูลด้านไร้รัฐไร้สัญชาติ ทำให้เชื่อได้ว่าจำนวนที่แท้จริงของคนที่ไร้รัฐไร้สัญชาติมีมากกว่านั้น

อนุสัญญา 1961 นี้ได้ให้แนวทางดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติตั้งแต่แรกเกิดและในช่วงอื่น ๆ ของชีวิต และที่สำคัญอนุสัญญาฉบับนี้อนุญาตให้เด็ก ๆ ถือสัญชาติของประเทศที่พวกเขาเกิดได้ หากไม่สามารถถือสัญชาติของประเทศอื่น

ประเทศฟิลิปปินส์ยังคงเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ค.ศ. 1954 อีกด้วย ความหวังในขณะนี้คือประเทศอื่น ๆ จะดำเนินรอยตาม

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

อาสาสมัครชุมชนช่วยเหลือคนไร้รัฐไร้สัญชาติในหมู่บ้านของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการยื่นขอสัญชาติ

UNHCR ชื่นชมไลบีเรียที่ยกเลิกการเลือกปฏิบัติทางเพศในกฎหมายสัญชาติ

เมื่อไม่ไร้รัฐไร้สัญชาติอีกต่อไป เด็กหนุ่มผู้หลงใหลฟุตบอลได้เปล่งเสียงของเขาแล้ว

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow