UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

‘ผมรู้สึกเหมือนได้เกิดใหม่ ’

คุณยุทธชัย อดีตบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ปัจจุบันทำงานเพื่อช่วยยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติในชุมชน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

1 มิ.ย. 2021

คุณยุทธชัย อดีตบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานชุมชนของมูลนิธิแอ็ดดร้า เขาตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการมีสัญชาติ และยังได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการช่วยเหลือบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติอื่น ๆ © UNHCR/Nakin x Korakrit

ผมเกิดที่ประเทศไทยและรู้สึกผูกพันกับประเทศไทยและคนไทยตลอดมา ตั้งแต่เกิดมาผมก็ไม่เคยอาศัยอยู่ที่อื่น แต่เพราะครอบครัวของผมเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ผมก็เลยเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติไปโดยปริยาย พวกเราไม่ได้ถือสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติของประเทศอื่น

ผมเป็นชาติพันธุ์ลาหู่ ครอบครัวของเรามาจากแม่ฮ่องสอน จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย และได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ตอนผมยังเป็นเด็ก คนไร้รัฐไร้สัญชาติทางภาคเหนือของไทยส่วนใหญ่ เป็นคนจากชนเผ่า ลาหู่ อาข่า  ลีซู พอโตขึ้นผมได้รับ เลข 13 หลักจากภาครัฐ แต่ก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย

“ก่อนที่จะได้รับสัญชาติ ผมใช้ชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกกังวลตลอดเวลา”

ผมได้รับการรับรองว่ามีสัญชาติไทยตอนเป็นวัยรุ่น ตอนนั้นเรียนอยู่ประมาณ ม. 2 หรือไม่ก็ ม. 3 ก่อนที่จะได้รับสัญชาติ ผมใช้ชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกกังวลตลอดเวลา ผมรู้สึกกลัวทุกครั้งเวลาที่เจอเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้แต่คนชาติพันธุ์ที่มีสัญชาติไทย เวลาเจอตำรวจยังรู้สึกหวาดกลัว ยิ่งถ้าเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติก็ยิ่งกลัว ตัวผมตอนนั้นก็เหมือนกัน

ผมเจอกับปัญหามากมายเกี่ยวกับการศึกษา ตอนผมเรียนจบ ป. 6 และจะต้องเรียนต่อในระดับมัธยม ทางโรงเรียนบอกว่าผมไม่สามารถสมัครเรียนต่อได้ เนื่องจากผมไม่มีสัญชาติไทย ผมจึงขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษาว่าควรทำอย่างไรและขอให้ครูช่วยเหลือ ในที่สุดผมก็ได้มีโอกาสเรียนต่อ เพราะครูแนะนำให้ลุงที่มีสัญชาติไทยไปรับรองกับทางโรงเรียน จึงทำให้ผมสามารถเข้าเรียนได้

ผมเคยรู้สึกน้อยใจว่าทำไมคนอื่นสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ ในขณะที่ผมถูกจำกัดสิทธิ ทั้งๆที่ผมก็เกิดในประเทศไทยเหมือนกัน ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมคนอื่นถึงทำสิ่งนั้นได้ แต่ผมทำไม่ได้ ผมรู้สึกว่าทุกอย่างยุ่งยากไปหมด จะทำอะไรก็ติดขัดและมีอุปสรรคเสมอ

ผมจำวันนั้นในปี พ.ศ. 2543 ได้อย่างชัดเจนตอนที่พ่อบอกกับพวกเราพี่น้องว่า พวกเรากำลังจะได้รับสัญชาติไทย ทุกคนมีความสุขกันมากและยิ้มตลอดเวลาในขณะที่เดินทางไปที่ว่าการอำเภอเพื่อไปรับบัตรประชาชนไทย

พ่อของผมได้ยื่นคำร้องขอสัญชาติให้ทั้งครอบครัวหลังจากที่ลุงยื่นทำเรื่องขอไปก่อนหน้านั้นแล้ว ทั้งพ่อและแม่ของผมไม่เคยยื่นคำร้องขอสัญชาติมาก่อน เพราะไม่ได้เห็นความจำเป็นในการที่ต้องมีสัญชาติ และก็ไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร อีกทั้งต้องเดินทางไกลมากจากบ้าน เพื่อไปติดต่อยื่นเอกสารที่อำเภอ

“ตอนที่ยังเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ตอนนั้นมันเหมือนอยู่ในความมืดและมีแต่ความไม่ชัดเจน แต่ว่าในตอนนี้หลังจากที่ได้สัญชาติไทย ผมรู้สึกได้ถึงแสงสว่าง”

เมื่อผมได้รับสัญชาติและเป็นคนไทยเต็มตัว ผมรู้สึกเหมือนได้เกิดใหม่ เหมือนได้รับชีวิตใหม่ ต่างจากตอนที่ยังเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ตอนนั้นมันเหมือนอยู่ในความมืดและมีแต่ความไม่ชัดเจน แต่ว่าในตอนนี้หลังจากที่ได้สัญชาติไทย ผมรู้สึกได้ถึงแสงสว่าง เหมือนชีวิตผมไม่มีอุปสรรคใดๆ แล้ว ผมก็รู้สึกสบายใจในทุกที่ที่ไป

หลังจากที่ได้บัตรประชาชนไทย ผมไม่กังวลเวลาเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจและขอดูเอกสารประจำตัวอีกเลย ถ้าพูดถึงประโยชน์ที่ได้ในเรื่องของการศึกษาก็ยิ่งชัดเจน หลังจากที่จบการศึกษาระดับมัธยม ผมได้มีโอกาสขอทุนกู้ยืม กยศ เพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ถ้าผมไม่มีสัญชาติไทย ผมคงไม่มีโอกาสได้รับสิทธิตรงนี้และก็คงเป็นอุปสรรคในการเรียนต่อของผม

ปัจจุบันผมภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานชุมชนในพื้นที่ของมูลนิธิแอ๊ดเวนตีสเพื่อการพัฒนาและบรรเทาทุกข์ (ADRA, the Adventist Development and Relief Agency) ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่ผมทำงานยังมีคนไร้รัฐไร้สัญชาติอยู่เป็นจำนวนมาก

คุณยุทธชัย ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการมีสัญชาติ ปัจจุบันคุณยุทธชัย ช่วยสร้างความตระหนักรู้และให้ความช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในการยื่นขอสถานะและสัญชาติ © UNHCR/Nakin x Korakrit

ปัญหาหลักๆ ในพื้นที่ส่วนใหญ่คือคนไร้รัฐไร้สัญชาติไม่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยื่นคำร้องขอสัญชาติ เมื่อไม่มีความรู้ชาวบ้านก็ไม่มีความมั่นใจที่จะไปติดต่อเจ้าหน้าที่และติดตามผลด้วยตัวเอง

ผมและเพื่อนร่วมงานจะเข้ามาประสานงานในส่วนนี้ โดยจะช่วยในการเตรียมหลักฐานและรวบรวมเอกสารทุกอย่าง รวมถึงช่วยตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเขามีสิทธิในสัญชาติไทยตามกฎหมายหรือไม่

ผมและเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ พยายามสนับสนุนให้ชาวบ้านไปยื่นคำร้องขอสัญชาติด้วยตัวเอง แต่ถ้าเขามีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่อำเภอ อย่างเช่นกรณีของผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่มักจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารภาษาไทย เราก็จะไปอำเภอพร้อมกับเขาและช่วยเป็นล่ามให้  หลังจากที่ยื่นคำร้องเสร็จแล้ว เราก็จะช่วยติดตามความคืบหน้าและส่งข่าวให้ทราบเป็นระยะๆ

นอกเหนือจากนี้ เราก็มีการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องของสิทธิอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะเรื่องสัญชาติอย่างเดียว โดยเราจะพยายามให้ชาวบ้านรู้ว่าเขามีสิทธิอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญและจำเป็นในชีวิตประจำวันเช่น การศึกษา การเดินทาง และการทำงาน เป็นต้น

ถึงแม้ว่าอุปสรรคยังคงมีอยู่ แต่ผมได้เผชิญมาด้วยตัวเองแล้วว่าการขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาตินั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ถ้าทุกฝ่ายทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน ทั้งรัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และ สื่อมวชน พวกเราจะสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ได้ เพียงเราร่วมมือและมีการวางเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน และเราจะมั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งให้ไร้รัฐไร้สัญชาติอีกต่อไป

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

อาสาสมัครชุมชนช่วยเหลือคนไร้รัฐไร้สัญชาติในหมู่บ้านของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการยื่นขอสัญชาติ

UNHCR ชื่นชมไลบีเรียที่ยกเลิกการเลือกปฏิบัติทางเพศในกฎหมายสัญชาติ

UNHCR ชื่นชมฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญา 1961 ว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow