UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

UNHCR: ผู้นำทั่วโลกต้องร่วมมือเพื่อลดแนวโน้มของการพลัดถิ่นที่พุ่งทะยานอย่างต่อเนื่อง

19 มิ.ย. 2021

Congolese asylum-seekers await health screening in Zombo, near the border between Uganda and the Democratic Republic of Congo, in July 2020. © UNHCR/Rocco Nuri

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เรียกร้องผู้นำทั่วโลกวันนี้ให้เร่งความพยายามในการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และความร่วมมือเพื่อหยุดและลดแนวโน้มการพลัดถิ่นจากความรุนแรงและการประหัตประหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเกือบทศวรรษ

แม้จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่จำนวนผู้ที่ถูกบังคับให้หนีจากสงคราม การประหัตประหาร และการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน พ.ศ. 2563 กลับพุ่งสูงขึ้นเกือบ 82.4 ล้านคนตามรายงานแนวโน้มประจำปีของ UNHCR ที่เผยแพร่ในนครเจนีวาวันนี้ (18 มิถุนายน) ซึ่งเพิ่มสูงถึงร้อยละ 4 จากสถิติที่สูงในประวัติการณ์ 79.5 ล้านคนเมื่อปลาย พ.ศ. 2562

รายงานระบุว่าเมื่อปลาย พ.ศ. 2563 มีผู้ลี้ภัยจำนวน 20.7 ล้านคนอยู่ในความห่วงของ UNHCR อีก 5.7 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ และชาวเวเนซุเอลาอีก 3.9 ล้านคนที่ต้องพลัดถิ่นอยู่ในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศอีก 48 ล้านคน และมีผู้ขอลี้ภัยอีกกว่า 4.1 ล้านคน จำนวนผู้คนเหล่านี้บ่งบอกว่า แม้จะมีการแพร่ระบาดของโรคภัยและการเจรจาขอหยุดยิง ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไปและขับไล่ให้ผู้คนต้องออกจากบ้านเกิดตนเอง

“เบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้ คือชีวิตจริงของมนุษย์ที่ถูกบังคับให้หนีออกจากบ้าน และเรื่องราวของการพลัดถิ่น การโดนริดรอน และความทุกข์ทรมาน พวกเขาต้องการความเมตตาและความช่วยเหลือจากพวกเรา ไม่ใช่แค่ทางด้านมนุษยธรรม แต่ยังรวมถึงการหาทางออกสำหรับความทุกข์ยากนี้“

“อนุสัญญา ค.ศ. 1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยและข้อตกลงโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยได้วางกรอบกฎหมายและแนวทางรับมือต่อการพลัดถิ่นไว้แล้ว เรายังต้องการการขับเคลื่อนเจตจำนงทางการเมืองที่มากขึ้นเพื่อจัดการกับความขัดแย้งและการประหัตประหารที่เป็นต้นเหตุของการบังคับให้ผู้คนต้องหนีออกจากบ้านเกิด” ฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าว

เด็กหญิงและเด็กชาย อายุต่ำกว่า 18 ปี คือร้อยละ 42 ของจำนวนผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นทั้งหมด พวกเขามีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในวิกฤตที่เกิดขึ้นยาวนานหลายปี การประเมินล่าสุดของ UNHCR ระบุว่ามีเด็กเกือบ 1 ล้านคนที่เกิดในสถานะผู้ลี้ภัยระหว่าง พ.ศ. 2561 – 2563 และหลายคนต้องตกอยู่ในสถานะผู้ลี้ภัยต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี

“เรื่องน่าเศร้าของเด็กเหล่านี้ที่ต้องลืมตามองโลกท่ามกลางการลี้ภัยน่าจะมีเหตุผลมากพอให้เราพยายามกันมากขึ้นเพื่อป้องกันและยุติความขัดแย้งและความรุนแรง” กรันดี กล่าวต่อ

รายงานยังระบุอีกว่าในช่วงที่การแพร่ระบาดอยู่ในจุดสูงสุด มากกว่า 160 ประเทศต่างปิดชายแดน โดยที่  รัฐ 99 แห่งไม่มีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลที่แสวงหาความคุ้มครอง แต่หลังมีการผ่อนปรนมาตรการ อาทิ การตรวจคัดกรองโรคบริเวณชายแดน การใช้ใบรับรองสุขภาพหรือการกักตัวชั่วคราวเมื่อมาถึง ขั้นตอนการลงทะเบียนที่ไม่ซับซ้อน และการสัมภาษณ์จากทางไกล หลายประเทศได้ค้นพบแนวทางการเข้าถึงการขอลี้ภัย โดยที่ยังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้

ขณะที่ผู้คนยังถูกบังคับให้หนีข้ามชายแดน อีกหลายล้านคนต้องพลัดถิ่นอยู่ในประเทศ โดยส่วนมากเป็นผลจากวิกฤตในประเทศเอธิโอเปีย ซูดาน กลุ่ม​ประเทศซาเฮล โมซัมบิก เยเมน อัฟกานิสถาน และจากโคลอมเบียที่จำนวนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 2.3 ล้านคน

ตลอด พ.ศ. 2563 มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศประมาณ 3.2 ล้านคน และมีผู้ลี้ภัยเพียง 251,000 คนเท่านั้นที่ได้เดินทางกลับมาตุภูมิโดยความสมัครใจ ซึ่งจำนวนลดลงถึงร้อยละ 40 และ 21 ตามลำดับเมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2562 ผู้ลี้ภัยอีก 33,800 คนยังคงรอสถานะอยู่ในประเทศที่ขอลี้ภัย ส่วนการย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศที่สามของผู้ลี้ภัยนั้นลดลงอย่างน่าใจหาย โดยมีผู้ลี้ภัยเพียง 34,400 คนที่ได้ย้ายถิ่นฐานในปีที่ผ่านมา ถือเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำนวนประเทศที่สามารถเปิดรับการย้ายถิ่นฐานได้และสถานการณ์ของโรคโควิด-19

“ทางออกต่างๆ นั้นต้องการผู้นำระดับโลกและบุคคลที่สามารถช่วยให้ผู้คนก้าวข้ามความแตกต่าง ยุติการเมืองแบบอัตตะนิยม และหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกัน แก้ไขความขัดแย้ง และสร้างความแน่ใจต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน” กรันดี กล่าว

ข้อมูลสำคัญจากรายงานแนวโน้มประจำปีของ UNHCR พ.ศ. 2563

  • ผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่น 82.4 ล้านคนทั่วโลก (จาก 79.5 ล้านคนใน พ.ศ. 2562) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4
    • ผู้ลี้ภัย 26.4 ล้านคน (จาก 26 ล้านคนใน พ.ศ. 2562) แบ่งเป็น
      • ผู้ลี้ภัย 20.7ล้านคนในความห่วงใยของ UNHCR (จาก 4 ล้านคนใน พ.ศ. 2562)
      • ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ 5.7 ล้านคนในความห่วงใยของหน่วยงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานแห่งสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ใน​ตะวันออกใกล้ (UNRWA)
    • ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ 48 ล้านคน (จาก 7 ล้านคนใน พ.ศ. 2562)
    • ผู้ขอลี้ภัย 4.1 ล้านคน (4.1 ล้านคนใน พ.ศ. 2562)
    • ผู้พลัดถิ่นชาวเวเนซุเอลา 3.9 ล้านคน (จาก 3.6 ล้านคนใน พ.ศ. 2562)
  • พ.ศ. 2563 นี้เป็นปีที่ 9 ติดต่อกันแล้วที่การพลัดถิ่นทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันร้อยละ 1 ของมวลมนุษยชาติกำลังพลัดถิ่นและมีผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2554 ที่มีผู้พลัดถิ่นไม่ถึง 40 ล้านคน
  • มากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นออกนอกประเทศ มาจาก 5 ประเทศหลัก คือ ซีเรีย (6.7 ล้านคน) เวเนซุเอลา (4 ล้านคน) อัฟกานิสถาน (2.6 ล้านคน) ซูดานใต้ (2.2 ล้านคน) และเมียนมา (1.1 ล้านคน)
  • ผู้ลี้ภัยทั่วโลกส่วนมาก เกือบถึง 9 ใน 10 (ร้อยละ 8.6) ได้รับที่พักพิงในประเทศเพื่อนบ้านของพื้นที่ที่มีวิกฤต และเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ประเทศที่ได้รับการพัฒนาน้อยที่สุดได้มอบที่ลี้ภัยถึงร้อยละ 27 แก่ผู้ลี้ภัยทั่วโลก
  • เป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันที่ตุรกียังคงเป็นประเทศที่มอบที่พักพิงแก่ประชากรผู้ลี้ภัยมากที่สุดในโลก (3.7 ล้านคน) ตามมาด้วยประเทศโคลอมเบีย (1.7 ล้านคน รวมถึงชาวเวเนซุเอลาที่พลัดถิ่นอยู่ในต่างประเทศ) ปากีสถาน (1.4 ล้านคน) และเยอรมนี (1.2 ล้านคน)
  • คำร้องขอลี้ภัยทั่วโลกที่ยังคงรอสถานะอยู่ มีจำนวนพอกับใน พ.ศ. 2562 (4.1 ล้านคำร้อง) ในขณะที่รัฐต่างๆ และ UNHCR ได้ร่วมกันลงทะเบียนผู้ขอลี้ภัยได้เพียง 1.3 ล้านคำร้อง ซึ่งน้อยกว่าใน พ.ศ. 2562 ถึง 1 ล้านคำร้อง (น้อยกว่าร้อยละ 43)

ดาวน์โหลดรายงานแนวโน้มประจำปีของ UNHCR และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ได้ที่ https://www.unhcr.org/unhcr-global-trends-2020-media-page-60be2dd14

หมายเหตุ:

รายงานแนวโน้มประจำปีของ UNHCR เผยแพร่ควบคู่กับรายงานโลกประจำปี ซึ่งได้รวบรวมโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของ UNHCR ที่ระบุความต้องการของผู้พลัดถิ่นและประชากรไร้รัฐไร้สัญชาติ

https://reporting.unhcr.org/publications#tab-global_report

#WithRefugees #UNHCRThailand

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

UNHCR เปิดงาน “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 11” เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก ท่ามกลางวิกฤติผู้ลี้ภัยที่สูงเป็นประวัติการณ์

UNHCR ระลึกถึงวันผู้ลี้ภัยโลก ร่วมกับพันธมิตรในประเทศไทยผ่าน “เทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย ครั้งที่ 10” จัดฉายภาพยนตร์ในบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow