UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

‘การวิ่งช่วยให้ผมได้ค้นพบตัวเอง’

โยนาส คินเด นักวิ่งมาราธอนโอลิมปิกและอดีตผู้ลี้ภัยทราบดีถึงพลังของกีฬาในการสร้างมิตรภาพ สุขภาพที่แข็งแรง และชีวิตใหม่ที่เขาได้รับ

โยนาส คินเด ออกวิ่งตอนเช้าในป่าใกล้บ้านของเขาในนครลักเซมเบิร์ก ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 © UNHCR/Colin Delfosse

22 ก.ค. 2021

นับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา โยนาส คินเด เปลี่ยนบรรยากาศจากการฟังเสียงให้กำลังใจจากผู้ชมในการแข่งวิ่งระดับนานาชาติ มาฟังเสียงธรรมชาติระหว่างการวิ่งในช่วงเช้าตรู่ใกล้บ้านของเขาในลักเซมเบิร์ก

“ผมสามารถออกวิ่งได้เลยจากบ้านไปในป่า” เขาเล่า “การวิ่งสำคัญสำหรับผม เพราะมันทำให้สมองปลอดโปร่งและยังทำให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง”

5 ปีหลังการลงแข่งโอลิมปิกที่เมืองรีโอเดจาเนโรในนามนักกีฬาทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัยทีมแรกของโลก ตอนนี้โยนาสตั้งใจศึกษาเพื่อเป้าหมายของเขาในด้านอื่นๆ ทั้งการเรียนเพื่อประกอบอาชีพเภสัชกรด้านโลจิสติกส์และการทำงานในแผนกยาของโรงพยาบาลเพื่อแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

แต่การวิ่งระยะไกลยังคงเป็นความชื่นชอบของเขา ปีที่แล้วแทบไม่มีวันไหนเลยที่เขาไม่ฝึกซ้อมและหยุดพัก มีเพียงช่วงที่เขาติดเชื้อโควิด-19 และต้องกักตัวอยู่บ้านเท่านั้น

“มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก… ผมคิดถึงการซ้อมมาก” เขานึกถึงช่วงเวลานั้น “ผมได้กำลังใจจากเพื่อนๆ ผ่านทางโทรศัพท์ การพูดคุยทางวีดีโอ พวกเขาบอกว่า ‘เราอยู่เคียงข้างคุณ’”

ในวันผู้ลี้ภัยโลก เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้เรียกร้องชุมชนและรัฐบาลต่าง ๆ ให้รวมผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นในบริการด้านสุขภาพ การศึกษา และการกีฬา

  • See also: Live Blog 2021: This World Refugee Day, we are stronger together

การให้โอกาสผู้ลี้ภัยได้มีส่วนร่วมในการกีฬาทำให้พวกเขามีความมั่นใจ รู้สึกได้รับการต้อนรับและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนใหม่ที่อาศัยอยู่

“กีฬามอบครอบครัวให้กับผม ไม่เพียงแค่ในลักเซมเบิร์กเท่านั้น แต่เป็นครอบครัวเดียวกันทั่วโลก”

เพื่อนๆ หลายคนที่ช่วยเหลือโยนาสในช่วงการกักตัวและการจำกัดพื้นที่ ได้มารู้จักกันจากการเล่นกีฬาที่เขารัก

“ขอบคุณกีฬา ผมได้พบกับคนที่มีความสำคัญในชีวิตผมมากมาย” เขาเล่า “กีฬามอบครอบครัวให้ผม ไม่เพียงแค่ในลักเซมเบิร์กเท่านั้น แต่เป็นครอบครัวเดียวกันทั่วโลก”

โยนาสเริ่มวิ่งตั้งแต่ยังวัยรุ่น ตอนที่ยังอยู่ในประเทศเอธิโอเปียเพื่อออมเงินค่ารถไว้ซื้อของหวานและขนมขบเคี้ยว

“ผมวิ่งไปโรงเรียน ระยะทางไป-กลับ 16 กิโลเมตร และผมไม่นึกมาก่อนเลยว่าการวิ่งจะมีส่วนช่วยในการแข่งขัน เพราะผมแค่วิ่งไปเพื่อให้ถึงโรงเรียนเท่านั้น”

อาจารย์ท่านหนึ่งสนับสนุนเขาให้ลองลงแข่งขัน

เขาหนีออกมาจากบ้านเกิดในเอธิโอเปียและมาถึงยุโรปในช่วงฤดูหนาวของปี พ.ศ. 2555 และมาจบลงที่ลักเซมเบิร์ก ราชรัฐเล็กๆ ที่ไม่มีทางออกทางทะเล หลังจากได้รับรองสถานะเป็นผู้ลี้ภัยที่นั้นใน พ.ศ. 2556 เขากลายเป็นหนึ่งในนักวิ่งมาราธอนที่เก่งที่สุดของลักเซมเบิร์ก คว้ารางวัลมาได้ทั้งจากในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี

โยนาสใช้เวลากับเพื่อนๆ ในย่านใจกลางนครลักเซมเบิร์ก “การเล่นกีฬาทำให้ผมมีเพื่อน ผมพูดภาษาลักเซมเบิร์กกับพวกเขาเพื่อเรียนรู้มันอย่างสม่ำเสมอ” © UNHCR/Colin Delfosse
โยนาส คินเด ในป่าแฮมของนครลักเซมเบิร์กที่เขาออกมาวิ่งทุกเช้า © UNHCR/Colin Delfosse
โยนาสกับถ้วยรางวัลจากการแข่งวิ่งของเขา “ผมคิดถึงการแข่งขันมากจริงๆ” © UNHCR/Colin Delfosse
โยนาส ทำงานในแผนกยาของโรงพยาบาลโรเบิร์ต ชูมาน ในนครลักเซมเบิร์กเพื่อแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 © UNHCR/Colin Delfosse
นครลักเซมเบิร์กกลายเป็นบ้านของโยนาสตั้งแต่มาถึงใน พ.ศ. 2555 ไม่นานมานี้เขาได้เป็นพลเมืองของลักเซมเบิร์กแล้ว © UNHCR/Colin Delfosse

ตอนที่รู้ว่าเขาได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ลี้ภัยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันที่เมืองริโอ พ.ศ. 2559 เขาบอกว่า “เป็นช่วงเวลาที่ยากจะลืมจริงๆ”

เขาเข้าแข่งขันวิ่งมาราธอนชายและมีความสุขที่ได้ใช้เวลากับนักกีฬาผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ ในหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก “มันวิเศษมาก” เขาบอก

เนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ โยนาสไม่ได้เข้าแข่งขันในระดับนานาชาติอีกเลยตั้งแต่การแข่งโตเกียวมาราธอนในช่วงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ที่ทำให้เขาเป็นผู้ลี้ภัยคนแรกในประวัติศาสตร์รายการที่เข้าแข่งขันในฐานะนักวิ่งแถวหน้า

“ผมคิดถึงการแข่งขันมาก” เขาเล่า “ผมคิดถึงเสียงการให้กำลังใจ”

ตอนนี้โยนาส พูดภาษาลักเซมเบิร์ก รวมถึงภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศสและอังกฤษ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 เขาได้เป็นพลเมืองของลักเซมเบิร์ก หลังจาก 7 ปี ที่ได้รับรองสถานะผู้ลี้ภัยที่นั่น

“สิ่งนี้ยิ่งใหญ่มากสำหรับผม สำหรับตอนหางานและทำความรู้จักกับผู้คนให้มากขึ้น และผมยังได้เป็นตัวแทนของลักเซมเบิร์กด้านกีฬาอีกด้วย”

“ทีมนักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัยเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง”

ตอนนี้เขาไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัยอีกแล้วทำให้เขาไม่สามารถเข้าร่วมทีมนักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัยในการแข่งขันที่เมืองโตเกียวในฤดูร้อนนี้ แต่เขาจะเป็นกำลังใจให้กับนักกีฬาทั้ง 29 คนที่ได้มีการประกาศชื่อเข้าร่วมทีมโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลไปเมื่อไม่นานมานี้

“ทีมนักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัยเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง… สำหรับนักกีฬาผู้ลี้ภัยเองและผู้ลี้ภัยทั่วโลก” เขากล่าว “ข้อความจากผมถึงทีมคือ การใช้โอกาสครั้งที่สองนี้ในการคว้าเหรียญรางวัลมาให้ได้และช่วยส่งข้อความถึงผู้คนทั่วโลกเพื่อการร่วมยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัย”

ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรผู้ลี้ภัย อย่างโยนาส ต่างทำงานในแนวหน้าเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส รักษาผู้ป่วย และช่วยให้ผู้คนได้รับวัคซีน

“ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ผมมีความสุขที่ได้มีส่วนช่วยเหลือและลงมือทำอะไรเพื่อผู้ป่วยโควิด-19” โยนาสกล่าว

การได้รับโอกาสในการศึกษาต่อทำให้เขาสามารถมองภาพในอนาคตและเรียนรู้ทักษะที่ต้องการเพื่อทำประโยชน์ให้กับประเทศที่ให้เขาลี้ภัย

ในบางวัน โยนาสวางแผนอบรมแก่ผู้ลี้ภัยที่เดินทางมาถึงใหม่ในลักเซมเบิร์กเพื่อให้พวกเขาได้รับสิทธิประโยชน์อย่างที่เขาได้

“การวิ่งสอนให้ผมเข้มแข็งขึ้น การวิ่งช่วยให้ผมได้รู้จักผู้คนมากมาย และการวิ่งช่วยให้ผมได้ค้นพบตัวเอง” โยนาสกล่าว

ในวันผู้ลี้ภัยโลกปีนี้ โยนาสจะวิ่งตามแผนการฝึกซ้อมพิเศษเพื่อระลึกถึงผู้ลี้ภัยทั่วโลก โดยเฉพาะเด็ก ๆ “นี่คือช่วงเวลาที่เราจะระลึกถึงพวกเขาเหล่านี้” เขากล่าว “มันเป็นวันที่พิเศษมาก”

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

นักกีฬา 6 คนได้เข้าร่วมทีมพาราลิมปิกผู้ลี้ภัยในการแข่งขันโตเกียวเกมส์

UNHCR แสดงความยินดีกับทีมนักกีฬาพาราลิมปิกผู้ลี้ภัยทีมแรกของโลกในการแข่งขันพาราลิมปิกโตเกียว พ.ศ. 2563

นายกรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติแสดงความยินดีกับทีมนักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัย

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2022

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow