UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

UNHCR เสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียของชีวิต และความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวในอัฟกานิสถาน

23 มิ.ย. 2022

© UNHCR

© UNHCR

กรุงเจนีวา – สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้เห็นโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุแผ่นดินไหวในอัฟกานิสถานเช้านี้ จากรายงานระบุว่าจนถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้วเกือบ 1,000 คน และอีกจำนวนมากได้รับบาดเจ็บท่ามกลางความเสียหายครั้งใหญ่

UNHCR ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานในเมืองการ์เดซ ไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในจังหวัดภาคิทิกา และโคส ตอนนี้เรามุ่งเน้นไปที่การค้นหาผู้รอดชีวิตและการช่วยชีวิต เรามีความกังวลอย่างยิ่งว่าอาจมีการสูญเสียเพิ่มมากขึ้นหากไม่สามารถเข้าถึงผู้รอดชีวิตในพื้นที่ที่ห่างไกลที่สุดหลายแห่งของประเทศได้อย่างเร่งด่วน

โดยทางการได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทันที และ UNHCR ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรด้านมนุษยธรรม เร่งระดมความช่วยเหลือ และระดมเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

“เป็นเรื่องที่ทำให้ใจสลายเมื่อได้เห็นโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน ท่ามกลางวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ชาวอัฟกันต้องเผชิญในทุก ๆ วัน” ฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าว “ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อประชาชนของอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องสูญเสียเพื่อน และครอบครัวในภัยธรรมชาติที่น่ากลัวนี้ UNHCR ขอยืนหยัดเคียงข้างชาวอัฟกันในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อมอบความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ”

อัฟกานิสถานกำลังเผชิญกับวิกฤตทางมนุษยธรรมร้ายแรง 3.5 ล้านคน ต้องพลัดถิ่นอยู่ภายในประเทศของตนเอง ขณะที่อีกหลายล้านคนกำลังเอาชีวิตรอดด้วยความยากลำบาก ท่ามกลางความยากจน และความอดอยากที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความตึงเครียดของการให้บริการทางสังคมในด้านต่างๆ

“โศกนาฏกรรมนี้แสดงให้เห็นอีกครั้งแล้วว่าชาวอัฟกันต้องการ และควรได้รับความช่วยเหลือ รวมถึงการสนับสนุนด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากทั่วโลก” กรันดี เสริม

UNHCR ทำงานร่วมกับชาวอัฟกัน ทั้งในประเทศอัฟกานิสถานและประเทศเพื่อนบ้านมาตลอด 4 ทศวรรษ ในปีนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม มีผู้พลัดถิ่นชาวอัฟกัน และชุมชนที่ให้ที่พักพิงเกือบ 1 ล้านคน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว

เจ้าหน้าที่ UNHCR ทุกคน อยู่ในพื้นที่พร้อมทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ

ร่วมบริจาคตอนนี้

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

ชาวโซมาเลีย หนีภัยแล้วและความขัดแย้งไปยังค่ายหลายแห่งในเมืองดาดาบ ประเทศเคนยา

UNHCR ขอการสนับสนุนเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปากีสถานหลายล้านคน

UNHCR เปิดตัว “กองทุนภาวะฉุกเฉินเพื่อผู้ลี้ภัย” ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการตอบสนองการทำงานด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์ฉุกเฉินระดับโลก

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2023

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow