UNHCR logo
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
UNHCR logo
  • Search
  • Thailand
  • Menu

Select a language for this section:

English ไทย

Select a language for our global site:

English Français Español عربي
Select a country site:
  • บริจาค
  • ลงชื่อติดตามและสนับสนุนการทำงาน
  • Media Centre
  • ติดต่อเรา

Share

Facebook Twitter
  • เกี่ยวกับ UNHCR
    • UNHCR ในประเทศไทย
    • อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
    • กลุ่มคนที่เราช่วยเหลือ
    • สถิติของ UNHCR ที่น่าสนใจ
    • ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง
  • การทำงานของเรา
    • การมอบความคุ้มครอง
    • ทางออกที่ยั่งยืน
    • การมอบความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่
    • การศึกษา
    • สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • ความร่วมมือภาคเอกชน
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
    • การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
    • วิกฤตการณ์ซีเรีย
    • สถานการณ์เมียนมา
    • วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    • วิกฤตการณ์เยเมน
    • วิกฤตการณ์ซูดานใต้
    • วิกฤตการณ์เวเนซุเอลา
    • วิกฤตการณ์ชาด
    • วิกฤตการณ์เอธิโอเปีย
    • วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • เรื่องราว
    • จดหมายข่าว
    • รายงานประจำปี
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • บริจาคออนไลน์
    • บริจาคผ่านพนักงานโดยตรง
    • บริจาคผ่านพนักงานทางโทรศัพท์
    • กิจกรรม
    • ผู้บริจาคของเรา : ครอบครัวผู้บริจาค UNHCR
    • ความร่วมมือจากบริษัท มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ
    • กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย
    • ผู้สนับสนุนพื้นที่สื่อสารองค์กรของ UNHCR
    • ลงชื่อสนับสนุน
    • ร่วมงานกับเรา
Search UNHCR
Close Search
 
  • Home

ครอบครัวผู้พลัดถิ่นชาวอัฟกานิสถานดิ้นรนรับมือความยากลำบากท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงล่าสุด

แม่เลี้ยงเดี่ยวของลูก ๆ ทั้ง 4 คน เป็นหนึ่งในผู้พลัดถิ่นชาวอัฟกานิสถานที่กำลังดิ้นรนเพื่อดูแลครอบครัวในค่ายที่พักพิงร่วมกับชาวอัฟกานิสถานอีกกว่า 270,000 คน ที่พลัดถิ่นมาตั้งแต่ช่วงต้นปีหลังการต่อสู้ครั้งล่าสุดที่ทวีความรุนแรงขึ้น

17 ก.ค. 2021

ซาริฟ อายุ 6 ขวบ ยืนอยู่หน้าเต็นท์ที่พักพิงชั่วคราวของครอบครัวในค่ายผู้พลัดถิ่นนาวาบาด ฟาราบิ ฮา ชานเมืองมาซาร์ อี ชาริฟ ทางตอนเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน © UNHCR/Edris Lutfi

สองสัปดาห์หลังพลัดถิ่นมาจากบ้านเกิดเพื่อหนีการปะทะระหว่างรัฐบาลและกองกำลังฝ่ายตรงข้าม มารียัม* วัย 24 ปี ซุกตัวอยู่ใต้ร่มของที่พักพิงชั่วคราวในค่ายผู้พลัดถิ่นนาวาบาด ฟาราบิ ฮา ชานเมืองมาซาร์ อี ชาริฟ ทางตอนเหนือของประเทศอัฟกานิสถานเพื่อบรรเทาความร้อนจากอุณหภูมิด้านนอกที่สูงถึง 45 องศาเซลเซียส

เธอเดินทางมาจากเขตโชลการาที่ห่างออกไปทางตอนใต้ราว 55 กิโลเมตร พร้อมกับลูก 4 คน พ่อแม่ และพี่ชายของเธอ หลังกองกำลังฝ่ายตรงข้ามบุกเข้าพื้นที่และสู้รบกับกองกำลังฝ่ายรัฐบาล มารียัมเล่าว่าเธอได้ยินเสียงปืนดังไปทั่วบริเวณรอบบ้านระหว่างการต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายเพื่อยึดพื้นที่

“เราไม่มีเวลาที่จะเก็บอะไรมาได้เลย เราหนีมาได้พร้อมผ้าห่มเพียงผืนเดียว” เธอเล่าขณะที่กำลังนั่งอยู่ในเต็นท์ที่สร้างจากการใช้ผ้ามัดไว้กับกิ่งไม้เพื่อตรึงผ้าไว้ แม้ว่าจะมีเต็นท์ที่ทำจากผ้าพลาสติก แต่อากาศที่ร้อนอบอ้าวทำให้เต็นท์เหล่านี้ไม่สามารถใช้การได้ ดังนั้นผู้พลัดถิ่นในค่ายจึงต้องพึ่งพาวัสดุพื้นฐานที่สุดที่มีเพื่อปกป้องพวกเขาจากแสงแดดที่ร้อนแรงและพายุทรายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

มารียัมและครอบครัวของเธอเป็นหนึ่งในชาวอัฟกานิสถานอีกราว 270,000 คน ที่พลัดถิ่นอยู่ภายในประเทศเป็นกลุ่มล่าสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปีหลังความรุนแรงทวีมากยิ่งขึ้น ด้วยความขัดแย้งที่รุนแรงทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานและในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เตือนถึงวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยกล่าวว่าความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงสันติภาพจะทำให้เห็นการพลัดถิ่นมากขึ้น

  • See also: UNHCR warns of imminent humanitarian crisis in Afghanistan

ในจำนวนพลเมืองที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด อัตราส่วนของผู้หญิงและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันตั้งแต่เดือนมกราคม ซ้ำเติมความสูญเสียจากความขัดแย้งที่ยาวนานมาหลายทศวรรษในอัฟกานิสถานต่อผู้คนอย่างมารียัมและครอบครัวของเธอ

มารียัมและฮาลิมาห์ แม่ของเธอสูญเสียสามีจากสงครามทั้งคู่และต้องแบกรับภาระความพยายามที่มากขึ้นในการดูแลพี่ชายของมารียัมที่บาดเจ็บ รวมถึงคุณตาที่ป่วยเรื้อรัง

ความยากลำบากของมารียัมเริ่มต้นเมื่อ 10 ปีก่อน เมื่อเธอถูกจับแต่งงานกับผู้ชายที่เธอไม่เคยพบในวัยเพียง 13 ปี ตอนแรก เธอในวัยรุ่นถูกชักนำให้เชื่อว่าสามีของเธออาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดบัลค์ แต่หลังจากแต่งงานแล้ว เธอถูกพาไปยังตอนใต้ของจังหวัดเฮลมันด์เพื่ออยู่กับญาติฝ่ายสามี

เธอเคยมองอนาคตของเธอไว้อีกแบบ เธอหวังว่าจะได้เรียนหนังสือและได้ทำงานในสักวันหนึ่ง แต่ในเฮลมันด์ อีกหนึ่งจังหวัดที่ถูกล้อมด้วยการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและกองกำลังฝ่ายตรงข้ามนานหลายทศวรรษ เธอเลี้ยงดูลูกทั้ง 4 คน จนกระทั่งสามีของเธอเสียชีวิตจากถูกลูกหลงระหว่างการยิงต่อสู้ในพื้นที่

หลังจากสามีของเธอเสียชีวิต มารียัมย้ายไปเมืองคาบูล พร้อมกับลูกชาย 2 คน และลูกสาว 2 คน ก่อนจะได้กลับไปอยู่กับครอบครัวของเธออีกครั้งในเมืองโชลการาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

“ตอนแรกทุกอย่างเป็นไปด้วยดี เรียกว่าอยู่ในความสงบ” เธอเล่า แต่หลังจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุด ตอนนี้พวกเขาต้องพักพิงอยู่ในค่ายนาวาบาด ฟาราบิ ฮา ร่วมกับครอบครัวอื่น ๆ อีกกว่า 100 ครอบครัว

“มีหลายคืนที่เราไม่มีอะไรตกถึงท้องเลย”

เมืองมาซาร์ อี ชาริฟ อาจเป็นศูนย์กลางการค้าที่คึกคัก แต่สำหรับผู้พลัดถิ่นภายในประเทศที่อาศัยอยู่ในค่าย โอกาสทางเศรษฐกิจมีน้อยมาก ด้วยความที่ผู้ชายทั้งสองคนของครอบครัวได้รับบาดเจ็บและป่วย ทำให้ลูกชายคนโตของมารียัมต้องเข้าไปเดินเก็บขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ในเมืองขายเพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว “มีหลายคืนที่เราไม่มีอะไรตกถึงท้องเลย” มารียัมเล่า

พวกเขาถูกบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐานมาแล้ว 4 ครั้งในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ลูก ๆ ของเธอไม่สามารถไปโรงเรียนได้และต้องสวมใส่เสื้อผ้าซ้ำ ๆ ที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกและฝุ่น

“ลูก ๆ ของฉันไม่มีเสื้อผ้าใหม่ใส่เลยตั้งแต่เราออกจากเฮลมันด์” เธอเล่า “นี่เป็นชีวิตแบบไหนกัน ดูสิ่งที่แสงอาทิตย์ทำกับใบหน้าของลูก ๆ ฉัน” เธอพูดเสริมพร้อมกับชี้ไปยังผิวบวมแดงของซาริฟ ลูกชายคนเล็กของเธอ

ใบหน้าของมารียัมเองเผยให้เห็นถึงความทรุดโทรมที่การพลัดถิ่นและความขัดแย้งครั้งแล้วครั้งเล่าส่งผลต่อสุขภาพของเธอ แก้มที่ซูบตอบของเธอบ่งบอกถึงภาวะขาดสารอาหารที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงทั่วประเทศ

  • See also: Uprooted in their own land: the internal displacement crisis

ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าร้อยละ 45 ของประชากรทั้งประเทศกำลังตกอยู่ในภาวะขาดสารอาหารซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความยากจน ภัยแล้งในประเทศที่น่าจะเป็นส่วนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อประเทศถึงร้อยละ 80 เพิ่มแรงกดดันต่อประชากรส่วนมากที่พึ่งพาการเกษตรและการทำปศุสัตว์จากฝนธรรมชาติ ทำให้เกิดความหวาดกลัวของการพลัดถิ่นครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น

UNHCR และองค์กรพันธมิตรกำลังมอบความช่วยเหลือให้กับผู้พลัดถิ่นชาวอัฟกานิสถานกลุ่มใหม่ด้วยเต็นท์ที่พักพิงฉุกเฉิน อาหาร การดูแลสุขภาพ น้ำสะอาดและความช่วยเหลือด้านสุขอนามัย รวมถึงความช่วยเหลือด้านการเงิน แต่ความขาดแคลนด้านงบประมาณทำให้ทรัพยากรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมยังขาดแคลนอยู่อีกเป็นจำนวนมาก

ภายในค่าย หลายครอบครัวเผชิญความลำบากในการหาน้ำดื่มสะอาด หลายคนบอกว่าลูก ๆ ของพวกเขาเริ่มล้มป่วยจากการดื่มน้ำกร่อยในบ่อที่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ และทางเดียวที่สามารถทำให้น้ำสะอาดดื่มได้คือการต้มให้เดือดเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที

  • See also: Forced displacement hit new high in 2020 despite fewer routes to safety

แต่การหาฟืนในพื้นที่ทะเลทรายของค่ายไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากไม่มีรายได้ ผู้อาศัยในค่ายไม่สามารถหาทางเข้าเมืองและซื้อไม้ได้ ดังนั้นลูก ๆ ของพวกเขาจึงจำเป็นต้องเดินเท้าท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุเพื่อหาแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่สะอาดกว่า ด้วยระยะทางที่ทำให้พวกเขายิ่งกระหายน้ำมากยิ่งขึ้น

สำหรับมารียัมแล้ว ผลกระทบจากการพลัดถิ่นที่มีต่อคุณภาพชีวิตและอนาคตของลูก ๆ ของเธอเป็นสิ่งที่กระทบจิตใจเธอมากที่สุด “ฉันแค่ต้องการให้ลูก ๆ ของฉันได้มีชีวิตที่ดี สามารถไปโรงเรียนและได้รับการศึกษา”

*นามสมมุติเพื่อเหตุผลด้านความคุ้มครอง

บริจาคตอนนี้

Share on Facebook Share on Twitter

 

See also

เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 4.9 และ 5.3 แมกนิจูดทางตะวันตกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติลงพื้นที่ 3 วันในประเทศอัฟกานิสถาน

UNHCR ออกคำแนะนำต่อการไม่ผลักดันกลับประเทศอัฟกานิสถาน

  • เกี่ยวกับ UNHCR
  • การทำงานของเรา
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลข่าวสารล่าสุด
  • มีส่วนร่วมกับเรา

© UNHCR 2001-2022

  • Terms & Conditions and Privacy Policy
  • Follow